top of page

เตาชวนหลง 30 ปีกับเจตนาที่แน่วแน่ว่าต้องการสืบสานงานศิลปะแบบไทยให้อยู่คู่กับคนไทย

  • Writer: People of Lamphun
    People of Lamphun
  • Mar 15
  • 1 min read

เตาชวนหลง : ชวนหลง หลงชวน ชวนให้หลง

“จากพ่อค้าขายเสื้อ สู่ศิลปินผู้ปั้นงานเซรามิคที่ไม่เหมือนใครและจะต้องเป็นที่รู้จักระดับโลก”


อุทัย กาญจนคูหา ในวัยสามสิบเป็นผู้ชื่นชอบในงานศิลปะ แต่เลือกเส้นทางเป็นพ่อค้าขายผ้าและทำเสื้อผ้าขาย วันหนึ่งก็รู้สึกตัวขึ้นมาว่าเสื้อผ้านั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาสามารถทำได้ดีไปมากกว่านี้ จึงเริ่มมองหาอะไรใหม่ๆ ในวัย 40 เขาได้เลือกเรียนงานปั้นที่ศูนย์ฝึกวิชาชีพ ครั้งแรกเขาได้ดินมา 1 ก้อน มองซ้ายมองขวาเห็นเพื่อนร่วมห้องเรียนปั้นเป็นสิ่งของ เป็นจาน เป็นชาม เป็นของตกแต่งสวยงาม ตัวเขาเองด้วยเหตุบางอย่างเขาก็เริ่มปั้นโดยไม่มีจุดหมาย ปั้นไปครู่หนึ่งรูปร่างเริ่มกลายเป็นสัตว์สี่ขา ตัวใหญ่ มีงวง พระพิฆเนศในที่สุด เหมือนจังหวะพรสวรรค์กับความเชื่อปลุกจิตวิญญาณอะไรบางอย่างในตัวเขาขึ้นมา

ครอบครัวชวนหลง ณ ชวนหลงเซรามิคสตูดิโอ ริมปิง ลำพูน
ครอบครัวชวนหลง ณ ชวนหลงเซรามิคสตูดิโอ ริมปิง ลำพูน

ความร้อนวิชาของเขากำลังครุกรุ่น เขาจึงเริ่มทดลองปั้นดินเป็นรูปทรงต่างๆ แล้วนำไปเผาในเตา สุดท้ายออกมาแตกและใช้งานไม่ได้ ลองกี่ครั้งก็ยังแตก เขาจึงเริ่มเกิดความแคลงใจขึ้นมาว่า นี่คือสิ่งที่ใช่สำหรับเขาหรือไม่

ระหว่างบทสนทนา เขาชี้ขึ้นไปบนแท่นบูชาที่มีพระพิฆเนศวางอยู่ แกเล่าให้ฟังว่า เช่าจากวัดมา ต่อราคากันหลายครั้ง สุดท้ายก็ได้องค์มาประทับพอดี แล้วใครจะเชื่อว่าหลังจากได้พระพิฆเนศองค์นี้มา เผาดินไม่เคยแตกเลย !

ใจเริ่มมาก็กลับมาตั้งหน้าตั้งตาเผากันต่อ โดยแนวคิดช่วงแรกที่อยากจะอนุรักษ์ลายไทยโบราณของชวนหลงจะเป็นแนวการดัดแปลงลายโบราณแบบสุโขทัยสังคโลก เรือนกาหลง เป็นหลักและผสมผสานแนวยุโรปเข้าไปเพิ่มภายหลังเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น

Lamp base with full Botan flower pattern and jade green glaze
Lamp base with full Botan flower pattern and jade green glaze

ชวนหลงเริ่มเป็นที่รู้จักหลังการประกวดเซรามิคเป็นอันดับ 1 หลายงานทั้งงานเล็กและงานใหญ่ บวกกับความขยันในการออกงานแฟร์ต่างๆ ทำให้ชวนหลงเป็นที่จับตามอง มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

คุณเก่ง กิตติกร กาญจนคูหา ทายาทรุ่นที่ 2 ได้กลับมาต่อยอดการทำเซรามิคต่อจากคุณพ่อ โดยยึดหลักลวดลายไทยเช่นเดิม แต่เพิ่มความร่วมสมัยและแตกลายงานปั้นออกไปเป็นของใช้อื่นๆ มากขึ้น งานสีแต่ละชิ้นงานจะเป็นแนวคุมโทน ตัดทอนบางองค์ประกอบเดิมและเพิ่มองค์ประกอบสมัยใหญ่เข้าไป

คุณเก่งยังทิ้งท้ายเหมือนกับที่คุณพ่อเริ่มต้นไว้คือ อยากให้ชิ้นงานแต่ละชิ้นสื่อถึงการอนุรักษ์ศิลปะไทยและในขณะเดียวกันก็พัฒนาชิ้นงานใหม่ที่มีความไทยในแบบสากลด้วย





มาถึงตอนนี้เตาชวนหลงมีนักปั้นกว่า 30 ชีวิตอยู่เบื้องหลังและยังคงปั้นชิ้นงานใหม่ๆ ออกมาอย่างสม่ำเสมอเพื่อหวังไว้ให้คนรุ่นหลังศึกษาต่อและเป็นที่รู้จักระดับโลกให้ได้

เรื่องความเชื่อก็ส่วนหนึ่ง อาจจะต้องใช้วิจารณญาณ แต่ความมุ่งมั่น ไม่ยอมแพ้นั้น ไม่ต้องใช้วิจารณญาณ




เรื่องโดย หมึกจีน สุโภไควนิช

ภาพโดย ปณวัฒน์ เมืองมูล

คอนเทนต์โดย #ลองลำพูน #LongLamphun


Comentários


Copyright © 2021 People of Lamphun

Drop Me a Line, Let Me Know What You Think

Thanks for submitting!

© 2023 by Train of Thoughts. Proudly created with Wix.com

bottom of page